สิ่งตกทอด ของ โปรตอน (โครงการดาวเทียม)

ดาวเทียมโปรตอนได้รับการประกาศจากสื่อมวลชนของโซเวียตว่าเป็นจุดเริ่มต้นของขั้นตอนใหม่ในการสำรวจอวกาศของสหภาพโซเวียต[15] ความสำเร็จของโปรตอนทำให้ วลาดีมีร์ เชโลเมย์ มีสถานะในอุตสาหกรรมจรวดของโซเวียตเทียบเท่ากับ เซียร์เกย์ โคโรเลฟ (รัสเซีย: Серге́й Королёвcode: ru is deprecated ) แห่ง ОКБ-1code: ru is deprecated (ผู้พัฒนา สปุตนิก, วอสตอก และวอสฮอด) และ มีฮาอิล ยันเกล (รัสเซีย: Михаил Янгельcode: ru is deprecated ) จาก ОКБ-456code: ru is deprecated (ผู้ออกแบบขีปนาวุธทางทหารคนสำคัญ) จรวด УР-500code: ru is deprecated เดิมชื่อ (รัสเซีย: Геркулес, อักษรโรมัน: Gerkules ) หมายถึงเฮอร์คิวลิส ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "โปรตอน" เมื่อมีการรายงานข่าวที่สับสนทำให้ชื่อของจรวดนำส่งและวัสดุที่บรรทุกกลายเป็นชื่อเดียวกัน แม้ว่าโปรตอนจะไม่เคยใช้ในบทบาทขีปนาวุธข้ามทวีป แต่ก็กลายเป็นจรวดนำส่งที่ประสบความสำเร็จเป็นพิเศษสำหรับส่งดาวเทียมเชิงพาณิชย์ซึ่งให้บริการได้ดีจนถึงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โปรตอน (โครงการดาวเทียม) http://www.astronautix.com/u/ur-500.html http://archive.aviationweek.com/issue/19651108#!&p... http://articles.adsabs.harvard.edu/pdf/1970ICRC...... http://web.archive.org/web/20120209194748/http://w... http://planet4589.org/space/log/launchlog.txt //www.worldcat.org/oclc/1001823253 //www.worldcat.org/oclc/17249881 //www.worldcat.org/oclc/775599532 http://www.npomash.ru/society/en/about.htm https://nssdc.gsfc.nasa.gov/nmc/spacecraft/display...